October 11, 2008

เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะดี ผู้เพาะพันธุ์ปลาควรใช้หลักการดังนี้
1.
ให้ทำการคัดเลือกปลาแม่พันธุ์ โดยเลือกปลาแม่พันธุ์ที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง และสมบูรณ์ปลาแม่พันธุ์ที่เลือกไว้ทำพันธุ์ให้ทำการคัดเลือกเมื่อปลาหางนก ยูงมีอายุได้ 3-4 เดือน ก่อนที่ปลาเพศเมียจะถูกผสม ถ้าคัดปลาแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก ปลาเพศเมียอาจอาจมีเชื้อปลาเพศผู้ที่ไม่ต้องการตกค้างอยู่ในรังไข่ได้ ทำให้ไม่สามารถควรคุมคุณภาพของปลา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคัดเลือกปลาแม่พันธุ์เมื่ออายุยังน้อย เพื่อให้ได้แม่พันธุ์ที่บริสุทธิ์
2.
หลังจากคัดเลือกปลาแม่พันธุ์แล้ว ให้ทำการเลี้ยงปลาแม่พันธุ์แยกจากปลาเพศผู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมกันก่อนอายุเท่าที่ควร
3.
ให้ทำการคัดเลือกปลาพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะตามต้องการ พร้อมกับนำไปปล่อยรวมกับปลาเพศเมีย โดยใช้ปลาหางนกยูงเพศผู้ 1 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 2-3 ตัว
4.
เมื่อปล่อยปลาพ่อพันธุ์และปลาแม่พันธุ์เลี้ยงร่วมกนแล้ว ให้สังเกตที่ท้องของปลาแม่พันธุ์ ถ้าพบว่าปลาแม่พันธุ์ท้องพองเป่ง และมีจุดดำปรากฏให้เห็น ให้ทำการแยกปลาเพศเมียเลี้ยงในตู้เพาะทันที เพื่อไม่ให้ปลาแม่พันธุ์ถูกรบกวน เมื่อปลาแม่พันธุ์ออกลูกแล้ว ให้แยกปลาแม่พันธุ์ออกทันที เพราะปลาแม่พันธุ์อาจกินลูกของตัวเองก็ได้ หรืออาจจะปลูกไม้น้ำพวกสาหร่ายไว้ในตู้เพาะพันธุ์ก็ได้ เพื่อให้ลูกปลาหางนกยูงหลบซ่อนศัตรูก็ได้ ปลาหางนกยูงจะคลอดลูกครอกหนึ่งๆ ประมาณ 40-50 ตัว
5.
ในระยะแรกของการอนุบาลปลาลูกปลา ควรให้อาหารพวกไรแดง และควบคุมให้อุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยให้ปลากินอาหารเก่ง และโตเร็ว
6.
ควรใส่ยาปฏิชีวนะพวกเตต้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ทุกๆ ครั้งที่ถ่ายเทน้ำ และหลังจากถ่ายเทน้ำแล้ว ควรใส่เกลือลงไปในน้ำทุกครั้ง
7.
เมื่อลูกปลาอายุได้ 3-4 เดือน ควรทำการแยกเพศปลาและทำการเลียงปลาเพศเมียแยกไว้ต่างหาก เพื่อป้องการกันผสมพันธุ์ของปลาจากปลาพ่อพันธุ์ที่ไม่ต้องการ

ปัญหาการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นับว่ามีปัญหามาก เพราะลูกปลาที่ได้มีลักษณะความแปรปรวนมาก สาเหตุที่ทำให้ลูกปลาหางนกยูงมีลักษณะ ด้อยกว่าปลาพ่อพันธุ์ปลาแม่พันธุ์ เนื่องมาจาก
1.
ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นปลาที่มาจากครอกเดียวกัน ในการเลี้ยงปลาถ้าไม่ทำการแยกเพศตั้งแต่ปลามีอายุ 3-4 เดือน อาจเกิดปัญหาการผสมในครอกเดียวกันก็ได้ เมื่อการผสมแบสายเลือดชิด จะทำให้ลูกที่ได้มีลักษณะด้อยลงไปเรื่อย ๆ
2.
ปลาเพศเมียผ่านการผสมพันธุ์จากปลาเพศผู้มาแล้ว จึงมีเชื้อของของปลาเพศผู้ตกค้างอยู่ในตัวแม้ว่าจะนำปลาพ่อพันธุ์ที่มีความสวยงามมาผสมพันธุ์ ก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้น เพราะเชื้อเก่ายังคงอยู่ในปลาเพศเมีย ทำให้ไม่ได้ลูกปลาตามที่ต้องการ
3.
ปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คุณภาพไม่ดี เนื่องจากเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลปลาหางนกยูงยังไม่ดีพอ
4.
ปลาที่เพาะพันธุ์เกิดการผสมกันเอง จากการที่ปลาหางนกยูงออกลูกเป็นครอก เมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกันอาจผสมพันธุ์กันเองได้ เพราะปลาหางนกยูงโตเร็ว จึงจำเป็นต้องรีบแยกปลาก่อนที่จะเกิดการผสมกันเอง

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

การเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงเพื่อการค้านั้น ปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จหรือไม่ นอกเหนือจากวิธีการเพาะพันธุ์ปลาแล้ว วิธีการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์และการอนุบาลลูกปลาก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ล้วนแต่มี ความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ซึ่งจะได้กล่าวถึงปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวต่อไปนี้
การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ปลาหางนกยูง
เนื่องจากปลาหางนกยูงจะเจริญถึงวัยเจริญพันธุ์เมื่อปลามีอายุเพียง 3 เดือนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อลูกปลาโตพอที่จะแยกเพศได้ (อายุประมาณ 1-2 เดือน) ควรเลี้ยงแยกเพศไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมพันธุ์กันเอง ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้ลูกปลาที่ได้จากการผสมพันธุ์กันเอง มีคุณภาพทางด้านลวดลายและรูปร่างไม่ตรงตามที่เราต้องการ
การเลี้ยงปลาหางนกยูงเพื่อเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรเลี้ยงในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงในเวลาเช้าหรือเย็น ถ้าเลี้ยงกลางแจ้งควรใช้ตาข่ายบังแสงให้ส่งผ่านได้เพียง 25-40% ภาชนะที่ใช้เลี้ยงใช้ได้ทั้งอ่างซีเมนต์ หรือตู้กระจก น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำสะอาดปราศจากคลอรีน มีความเป็นกรดด่าง (pH) 6.5-7.5 (ความเป็นกรดด่างที่เหมาะสมที่สุดต่อปลาหางนกยูงคือ 6.8 มีปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำไม่ต่ำกว่า 5 ppm. (ควรมีอุปกรณ์เพิ่มออกซิเจนในน้ำตลอดเวลา) ความกระด้างของน้ำ 75-100 ppm. ความเป็นด่าง 100-200 ppm. และอุณหภูมิน้ำ 25-29 C
ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่สามารถกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ (Omin vorous) ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์สามารถให้อาหารจำพวกสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ลูกน้ำ ไรแดง (Moina) สีน้ำตาล (Artemia) หรือหนอนแดง (Chrionomus) ในภาพที่มีชีวิตหรือตายก็ได้ หรืออาจจะเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ที่มีโปรตีนไม่ต่ำกว่า 40% ก็ได้ในการให้อาหารสด ก่อนให้อาหารทุกครั้งควรแช่อาหารในด่างทับทิมเข้มข้น 500-1,000 ส่วนในล้านส่วน (0.5 - 1.0 กรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร) เป็นเวลา 10-20 วินาทีฆ่าเชื้อโรคที่ติดมาเชื้อโรคที่ติดมากับอาหารแล้วจึงล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งหนึ่ง ปริมาณอาหารควรให้วันละ 10% ของน้ำหนักตัวปลาหรือในปริมาณที่ปลากินอิ่มพอดีให้อาหารวันละ 2 ครั้งในตอนเช้าและเย็น หากมีอาหารเหลือจากปลากินอิ่มแล้วควรดูดทิ้งให้หมด ส่วนมีอาหารแห้งควรให้วันละ 2 - 4% ของน้ำหนักตัวปลาหรือให้ในปริมาณปลากินอิ่มและควรให้วันละ 2 ครั้งเช่นกัน
การถ่ายน้ำน้ำควรจะกระทำทุกวัน โดยการดูดตะกอนก้นตู้ให้สะอาดแล้วดูดน้ำในตู้ออกวันละประมาณ ? ของปริมาณน้ำในตู้ปลาแล้วเติมน้ำให้เท่าระดับเดิม
การสังเกตเพศของปลาหางนกยูง
ในการสังเกตเพศของปลาหางนกยูง สังเกตได้ง่ายเพราะปลานกยูงเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ดังนี้
1.
ขนาดและความยาวของหาง ปลาเพศผู้จะมีครีบหางยาวและมีสีสวยกว่าปลาเพศเมียแม้ว่าขนาดลำตัวของปลาเพศผู้จะสั้นกว่าก็ตาม
2.
สังเกตสีสันของปลา ตามปกติปลาหางนกยูงเพศผู้จะมีสีสันสวยงามกว่าปลาหางนกยูงเพศเมีย ในขณะที่ปลาว่ายน้ำจะกางครีบออกโบกสะบัดไปมาเพื่อดึงดูดความความสนใจของปลาเพศเมีย
3.
ปลาหางนกยูงเพศผู้จะมีอวัยวะเพศ (gonopcdium) ยื่นยาวออกมา สังเกตเห็นได้ชัดเจน และปลาเพศผู้จะพยายามว่ายน้ำรัดปลาเพศเมียอยู่ตลอดเวลา ส่วนปลาเพศเมียเมื่อท้องแก่ส่วนของท้องจะพองขยายออก และจะพบปานดำเกิดขึ้นที่ท้องของแม่พันธุ์ ยิ่งปลาท้องแก่ยิ่งสังเกตเห็นได้ชัด
4.
การผสมพันธุ์ของปลาหางนกยูง จาการที่ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่สวยงามที่ออกลูกเป็นตัว หรือจัดเป็นปลาสวยงามพวกที่มีการผสมภายในลำตัว (intermal fetilization) โดยปลาเพศผู้จะสอดอวัยวะช่วยในการผสมพันธุ์ (gonopodium) เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของปลาเพศเมีย พร้อมกับปล่อยเชื้อเข้าไปผสมกับไข่น้ำเชื้อของปลาเพศผู้จะตกค้างอยู่ภายใน รังไข่ของปลาเพศเมีย และสามารถมีชีวิตอยู่ได้นาน จึงทำให้เกิดปัญหาในการปรับปรุงพันธุ์ปลาหางนกยูง เนื่องจากเชื้อที่ตกค้างอยู่นี้ ผู้เพราะพันธุ์จึงจำเป็นต้องเลี้ยงแยกปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ เพื่อป้องการการผสมของพ่อพันธุ์ที่ไม่ต้องการ ดังนั้นหลังจากปลาเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะออกลูกครอกหนึ่งๆ โดยใช้เวลา 28-30 วัน และปลาเพศเมียสามารถที่ให้ลูกครอกต่อไปได้อีก โดยไม่จำเป็นต้องมีปลาเพศผู้ผสมเหมือนครั้งแรก เนื่องจากยังมีเชื้อปลาเพศผู้ตกค้างอยู่ในปลาเพศเมียอีกมาก
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์
ใน การคัดเลือกปลาเพศผู้เพศเมียเพื่อทำการผสมพันธุ์ ควรเลือกปลาที่มีอายุ 3 เดือนขึ้นไป มีลักษณะลำตัวและครีบสมบูรณ์ รูปร่างได้สัดส่วนไม่พิการแข็งแรงว่ายน้ำปราดเปรียว มีสีและลวดลายสวยงาม ปลาเพศผู้จะมีลักษณะต่างจากเพศเมีย ตรงที่มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์เรียกว่า gonopdium ซึ่งดังแปลงมาจากครีบก้น ปลาเพศผู้และเพศเมียควรมีลักษณะสีและลวดลายที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันมากที่สุด เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะไม่แปรปรวนมาก บางครั้งในการคัดลักษณะสีและลวดลายของปลาเพศเมียอาจจะมีปัญหายุ่งยาก เนื่องจากสีและลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกับปลาเพศผู้ วิธีที่จะช่วยเพิ่มสีและลวดลายให้เห็นได้ชัดเจนขึ้นในปลาเพศเมีย กระทำได้โดยหยดสารละลายฮอร์โมนเมทธิลเทสโตสเตอโรน (Methyl tesosterone) เข้มข้น 0.1 ppm 2 หยด ลงในภายชนะที่เลี้ยงปลาเพศเมียที่มีประมาตร 3.5 ลิตร ต่อปลา 1 ตัว และเติมสารละลายเมธิลเตสเตอโรน เพิ่มอีกวันละ 2 หยด ซึ่งสีจะปรากฏให้เห็นภายใน 2 สัปดาห์ หลังจากคัดเลือกปลาเพศเมียได้ตามที่ต้องการแล้ว ต้องรีบตักปลาออกจากสารละลายฮอร์โมนทันที เพราะถ้าแช่นานเกินไปทำให้ปลาเป็นหมันได้
การผสมพันธุ์ปลาหางนกยูง
เมื่อคัดปลาเพศผู้และเพศเมีย ตามลักษณะที่กล่าวไว้ในข้างต้นแล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเพาะพันธุ์ แล้วใส่เลี้ยงรวมกันในภาชนะที่เตรียมไว้สำหรับเพาะพันธุ์ ซึ่งจะเป็นอ่างซีเมนต์ หรือตู้กระจกได้ ในอัตราเพศผู้ 2 ตัว ต่อตัวปลาเพศเมีย 5 ตัว โดยปล่อยในอัตราส่วนเพศผู้ 10 ต่อตัวปลาเพศเมีย 25 ตัว ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
หลัง จากปล่อยปลาเพศผู้และเพศเมียรวมกัน เมื่อปลาจะผสมพันธุ์กัน ปลาเพศผู้จะว่างไปใกล้ปลาตัวเมีย และจะปล่อยน้ำเชื้อผ่านทางอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ (Gonopodium) ไปเก็บไว้ในท่อนำไข่ (Ovduct) ของปลาเพศเมีย (น้ำเชื้อของปลาเพศผู้สามารถเก็บไว้ในท่อนำไข่ได้นานถึง 8 เดือน) หลังจากน้ำเชื้อผสมกับไข่ในท้องปลาเพศเมียแล้ว จะใช้เวลาพักในท้องนานประมาณ 22-30 วัน จึงจะฟักออกเป็นตัว หลังจากออกไข่ได้การผสมกับน้ำเชื้อแล้วจะสังเกตเห็นว่าบริเวณท้องของปลาเพศ เมียจะพองบวมขึ้น และเมื่อสังเกตเห็นว่าบริเวณท้องของปลาเพศเมียบวมออกทั้ง 2 ช้างเต็มที่ ให้จับปลาหงายท้องขึ้นหากเป็นดำๆ ซึ่งเรียกว่า "Gravid spot" จับปลาเพศเมียแยกไปเลี้ยงในภาชนะอื่นที่มีระดังน้ำตื้นๆ และมีพรรณไม้น้ำเพื่อเป็นที่หลบซ่อนของลูกปลา เมื่อลูกปลาพัฒนาเต็มที่ก็จะคลอดออกมาจากท้องแม่ปลาทางช่องเปิดบริเวณท้อง (Vent) ปล่อยให้ลูกปลาออกจากท้องแม่ปลาจนหมดแล้วจึงตักแม่ปลาออกเพื่อป้องกันไม่ให้ แม่ปลากินลูกปลาเกิดใหม่ จำนวนลูกปลาแต่ละครอกอาจมีมากถึง 200 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่ปลา แต่โดยเฉลี่ยจะมีประมาณ 40-50 ตัว อนึ่งสถานที่ๆ สำหรับวางภาชนะเพื่ออนุบาลลูกปลานั้นควรเป็นที่มีหลังคากันแดดและฝนได้เพื่อ ป้องกันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ pH ของน้ำเนื่องจากลูกปลาวัยอ่อนที่เกิดใหม่จะมีความต้านทานต่อการเปลี่ยนสภาพ แวดล้อมได้น้อย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ลูกปลาอ่อนแอและเกิดโรคได้ง่าย
การอนุบาลลูกปลา
ลูก ปลาหางนกยูงที่เกิดใหม่มีขนาดค่อยข้างใหญ่ ในระยะแรกสามารถใช้ไรแดงหรือไรสีน้ำตาลที่ฟังใหม่ๆ เป็นอาหาร โดยให้ในปริมาณที่ปลากินอิ่มพอดีวันละ 2 มื้อ ในตอนเช้าและเย็นประมาณ 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นเลี้ยงด้วยลูกน้ำหรืออาหารสำเร็จรูปได้ทุกๆ วัน ต้องดูตะกอนก้นตู้และเศษอาหารที่เหลือในตู้ออกให้หมดพร้อมทั้งดูดน้ำทิ้งไป ประมาณ 1/4 ของตู้ แล้วเติมให้ได้ระดับเดิม เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 1 - 2 เดือน ควรจะเลี้ยงแยกเพศเพื่อป้องกันไม่ให้ปลาเพศผู้ไล่ล่าตามปลาเพศเมียซึ่งเป็น สาเหตุทำให้ปลาเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ
การเพาะเลี้ยงปลาหางนกยูง
ขั้นตอนที่ 1
เตรียมบ่อซีเมนต์ขนาด 1-4 ตรม. ระดับน้ำลึก 30-50 ซม. ใส่พุ่มเชือกฟางตระกร้าหรือฝาชี เพื่อให้ลูกปลาใช้เป็นที่ลูกปลาหลบซ่อน
ขั้นตอนที่ 2
คัด พ่อแม่ปลาสายพันธุ์เดียวกัน ที่ลักษณะดีสีสวยอายุประมาณ 4-6 เดือน โดยคัดปลาเพศผู้ ลำตัวโตแข็งแรง ครีบหลัง ครีบหางใหญ่และแผ่กว้าง สีเข้มสดใสสวยงาม ส่วนปลาเพศเมียคัดเลือกสายพันธุ์เดียวกันกับปลาเพศผู้ ลำตัวโต แข็งแรง ปราดเปรียว ครีบหางเข้ม สดใส ปล่อยรวมกันในอัตรา 120-180 ตัว/ลบ.ม. ในสัดส่วนเพศผู้ : เพศเมีย เท่ากับ 1 : 3 หรือ 1 : 4 ระหว่างการเพาะพันธุ์ให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้า และให้อาหารสำเร็จรูปในตอนเย็นปลาเพศเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะเห็นเป็นจุด สีดำบริเวณท้อง
ขั้นตอนที่ 3
หลักจากแม่ปลาได้รับการผสมพันธุ์ประมาณ 26-28 วัน จะมีลูกปลาวัยอ่อนเกิดขึ้นและหลบซ่อนอยู่ตามวัสดุที่ใส่ไว้ในบ่อ ให้รวบรวมลูกปลาออกทุกวันสะสมไว้ในบ่ออนุบาล ประมาณ 4-5 วัน/บ่อ เพื่อให้ลูกปลามีขนาดใกล้เคียงกัน โดยปล่อยลูกปลาในอัตราความหนาแน่น 140-300 ตัว/ลบ.ม. ในระยะแรกให้ไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าและเย็นทุกวันเป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจึงให้อาหารสำเร็จรูป จนกระทั่งลูกปลามีอายุประมาณ 3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่เริ่มแยกเพศได้ โดยปลาเพศเมียสังเกตจุดสีดำบริเวณรูเปิดช่องท้อง ส่วนปลาเพศผู้ เมื่อมาจากด้านบนมีรูปร่างเรียวยาวกว่าเพศเมีย
ขั้นตอนที่ 4
คัด ขนาดและแยกเพศปลา นำไปแยกเลี้ยงในบ่ออัตรา 200-300 ตัว/ลบ.ม. ให้กินไรแดงเป็นอาหารในตอนเช้าส่วนตอนกลางวันและตอนเย็นให้กินอาหารสำเร็จ รูปเลี้ยงเป็นระยะเวลา 3 เดือน (ปลามีอายุประมาณ 4 เดือน)
ขั้นตอนที่ 5
ปลาหางนกยูงอายุประมาณ 4 เดือน จะถูกคัดขนาดและคัดเลือกปลาที่แข็งแรงสมบูรณ์ เพื่อนำไปเลี้ยงไว้ในบ่อพักปลาเพื่อเตรียมส่งจำหน่ายต่อไป

ที่มา:http://www.geocities.com/kad_guppy/fertilizer.html

October 1, 2008

ปลาหางนกยูงพันธุ์ต่าง ๆ


ปลาหางนกยูงพันธุ์ต่าง ๆ
ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงและพบเห็นทั่วๆ ไปสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ Wild guppies และ Fancy guppies Wild guppies หมายถึงปลาหางนกยูงที่พบอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือปลาที่มีผุ้นำมาเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยไม่ได้ผ่านการคัดพันธุ์ ปลาชนิดนี้มักจะมีสีคล้ำ สีไม่เด่นสะดุดตาครีบหลักและครีบหางจะไม่ยาวนัก ปลาเพศผู้และเพศเมียจะมีลักษณะคล้ายกันไม่แตกต่างกันมาก ส่วน Fancy guppies หมายถึงปลาที่ได้จาการนำ Wild guppies มาคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีลักษณะดี สีสันสวยงาม และลวดลายเด่นสะดุดตา ปลาเพศผู้ในกลุ่มนี้จะมีลักษณะครีบใหญ่ยาว และสีสวยสะดุดตากว่าปลาเพศเมียมาก และเป็นที่นิยมในหมู่นักเลี้ยงปลาสวยงาม

Fancy guppies ในปัจจุบันมีการเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์เพื่อซื้อขายเป็นปลาสวยงามได้มากมาย หลายสายพันธุ์ (Varieties) แต่ละสายพันธุ์เน้นความสำคัญที่รูปแบบของครีบหาง สีหรือลวดลายบนลำตัวและครีบและมีการตั้งชื่อทางการค้าของแต่ละสายพันธุ์ตาม ลักษณะดังกล่าว ซึ่งพอจะสรุปรายละเอียดของลักษณะที่สามารถนำมาตั้งชื่อได้ดังนี้
1.
ลักษณะของครีบหาง ครับหางของปลาหากนกยูงเป็นส่วนที่เด่นที่สุด การคัดพันธุ์จึงเน้นที่รูปแบบของหางเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่งและจากการคัดพันธุ์ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันมีรูปแบบของหางต่างๆ หลายแบบได้แก่
1.1
Rounditial ได้แก่หางที่มีลักษณะกลมมนขณะที่กางเต็มที่
1.2
Pintail เป็นหางที่มีลักษณะกลมเช่นเดียวกัน Roundtail แต่ก้านครีบบริเวณกึ่งกลางของครีบหางจะยื่นยาวออกไปเป็นเส้น
1.3
Speartail หรือ Lacetail เป็นครีบหางที่แผ่กว้างออกเล็กน้อย จากบริเวณโคนหาง แล้วค่อยๆ เรียวแหลมไปทางด้านปลายหางลักษณะคล้ายใบโพธิ์
1.4
Spadatail หรือ Cofer tail คล้าย Speartail แต่ปลายหางจะไม่เรียวแหลมเหมือน speartail ส่วนของปลายหางจะมีรูปร่างเหมือนครึ่งหนึ่งของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน
1.5
Upper swordtail ได้แก่ ครีบหางที่มีก้านครีบบริเวณขอบบนของครีบหางยื่นยาวมากกว่าก้านครีบอันอื่นๆ มีลักษณะเป็นเส้นยาว
1.6
Lower swordtail ได้แก่ หางที่มีก้านครีบที่อยู่ขอบล่างของครีบหางยื่นยาวออกมาเป็นเส้น
1.7
Dubble swordtail เป็นครีบหางที่มีก้านครีบที่อยู่บริเวณขอบบนและขอบล่างของครีบหางยืนยาวออกมาเป็นเส้น
1.8
Flagtail ได้แก่ หางที่มีลักษณะยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยมคล้ายผืนธง
1.9
Lyretail เป็นลักษณะหางที่มีรูปร่างคล้ายกับ Duble tail กล่าวคือ มีก้านครีบหางยื่นยาวเป็นเส้นเช่นเดียวกับ Duble tail แต่ต่างกันที่ก้านครีบส่วนที่ยื่นออกไปจะสั้นกว่าและแพนหางจะแผ่กว้างกว่า Duble tail ซึ่งค่อนข้างยากที่จะจำแนกลักษณะหางทั้ง 2 แบบนี้ให้เห็นเด่นชัดและมักจะมีผู้ใช้ซ้ำซ้อนกันเสมอ
1.10
Fantail ครีบหางแบบนี้เมื่อ แผ่กว้างเต็มที่ความกว้างของแพนหางจะกว้างมากกว่าความขาวของหางมองดูลักษณะคล้ายพัด
1.11
Traingletail หรือ Del tatail หางแบบนี้จะมีลักษณะคล้าย Fantail แต่ความยาวของหางจะยาวมากกว่าความกว้างของหางเมื่อแผ่เต็มที่ มองดูคล้ายรูปสามเปลี่ยม
1.12
Veiltail ได้แก่ หางที่มีลักษณะยาวเป็นพวง ปลายครีบหางจะแผ่กว้างกว่าบริการโคนครีบ แต่ไม่แผ่กว้างมากเท่า Fantail หรือ Triang letail
2.
ลักษณะสีบนลำตัวและครีบ
ปลาหางนกยูงมีสีต่าง ๆ มากมายหลายสี บางคนกล่าวว่าสีที่พบในปลางหางนกยูงมีมากกว่าสีที่พบในสัตว์ชนิดอื่นๆ แม้กระทั้งผีเสื้อซึ่งเป็นสัตว์ที่มีสีสันสดสวยก็ยังสู้ปลาหางนกยูงไม่ได้ Fancy guppies ที่พบเห็นทั่วไปมักจะไม่พบหรืออาจจะพบน้อย สำหรับปลาที่มีสีเดียวล้วนๆ ส่วนใหญ่มักจะพบว่ามีมากกว่า 1 สีขึ้นไปผสมอยู่ในปลาตัวเดียวกัน แต่อาจมีสีหนึ่งสีใดเด่นชัดมากว่ากว่าสีอื่นๆ ในการตั้งชื่อหากว่าปลามีหลายสีมักจะใช้สีที่เด่นที่สุด บนตัวปลาเป็นสีเรียกชื่อและสีที่พบมักจะเป็นสีพื้นส่วนใหญ่ได้แก่สี ดำ ขาว เหลือง น้ำเงิน แดง เขียว และสีธรรมชาติ (Wild) ซึ่งมักจะเป็นสีคล้ำๆ มัวๆ หรือสีลวดลายเหมือนปลาที่พบในแหล่งน้ำธรรมชาติ

3.
ลักษณะลวดลายบนลำตัวและครีบ

จากการที่ปลาหางนกยูงมีสีต่างๆ มากมายหลายสีดังที่กล่าวมาแล้ว ประกอบกับการคัดพันธุ์ที่เน้นความสำคัญของลักษณะสี จึงทำให้ได้ปลาที่มีลวดลายต่าง ๆ และมีการตั้งชื่อตามลวดลายที่ปรากฏ เช่น Snake skin, Mosaic, Tuxedo เป็นต้น

ใน การตั้งชื่อปลาของแต่ละสายพันธุ์ที่เพาะได้ใหม่นั้น นิยมใช้ชื่อที่พบว่าเป็นสีพื้นและเด่นที่สุดบนตัวปลาเป็นชื่อแรก และหากปลามีลวดลายต่างๆ ก็จะใช้ลวดลายเป็นชื่อต่อมาและตามด้วยลักษณะหาง หรืออาจใช้ลักษณะหางเป็นชื่อแรกก็ได้ แล้วแต่ความนิยมของผู้เลี้ยง ถ้าหากสีที่ปรากฏไม่เห็นเป็นลวดลาย ก็จะใช้สีที่เด่นสะดุดตาที่สุดบนตัวปลากับลักษณะหางเป็นชื่อเรียกปลาของแต่ ละสายพันธุ์ดังตัวอย่างต่อไปนี้

Yellow snakeskin fantail หมายถึง สายพันธุ์ที่มีลำตัวและหางมีสีเหลืองเป็นสีพื้นและเด่นที่สุด ในขณะเดียวกันจะมีลวดลายบนลำตัวและครีบลักษณะคล้ายหนังงูแลมีหางแบบรูปพัด

Golden cobra lacetail หมายถึง ปลาที่มีสีพื้นลำตัวตัวและหางเป็นสีเหลืองทองมีลวดลายคล้ายงูเห่าและมีหาง ที่มีปลายเรียวแหลมคล้ายใบโพธิ์

Red lower swordtail หมายถึง ปลาหางนกยูงที่มีสีเด่นบนลำตัว และหางเป็นสีแดงและมีหางแบบมีก้านครีบยื่นยาวที่ขอบล่างของครีบหาง

Wild fantail หมายถึง ปลาหางนกยูงที่มีสีคล้ำๆ และไม่มีลวดลายเด่นสะดุดตา ลักษณะเหมือนปลาธรรมชาติและมีรูปแบบพัด
Red tail Tuxedo หมายถึง ปลาหางนกยูงที่มีครึ่งหลังของลำตัวเป็นสีน้ำเงินเข้มและครีบหางเป็นสีแดง
ข้อมูลจาก http://www.geocities.com/kad_guppy/species.html

ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง
ลักษณะลำตัว : มีขนาดใหญ่ หนา สมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ : ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับ
สีและลวดลาย : ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว : ทรงตัวปกติ

ปลาหางนกยูง "ราชินีแห่งปลาตู้"


ปลาหางนกยูง มีชื่อสามัญว่า Guppy หรือ Millions Fish อยู่ในครอบครัว (Family) Poeciliidac และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Poecilia reticulata (Peters) และชื่อวิทยาศาสตร์คือ Poecilia reticulata (Peters) เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว (Ovoviviparous Fish) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดส และประเทศกลุ่มอเมซอน


ในปัจจุบันนี้ ปลาหางนกยูงได้รับความนิยมใช้เลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะเลี้ยงในตู้กระจกอย่างแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก และสามารถเพาะผสมพันธุ์ให้ได้ชนิด หรือประเภทที่มีความสวยงามและลักษณะเด่นตามความนิยมของตลาดได้โดยไม่ยากนัก ปลาหางนกยูงจัดเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก ลักษณะลำตัวยาวเรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กริมฝีปากล่างยื่นยาวกว่าริมฝีปากบน ครีบหางใหญ่และแผ่กว้าง โดยเฉพาะปลาเพศผู้ครีบหางจะใหญ่และยาวเป็นพวงสวยงาม ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูงได้พยายามใช้หลักวิชาการทาง ด้านพันธุกรรม ดำเนินการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่มีลักษณะเด่นตามความต้องการมาเพาะพันธุ์ จนสามารถได้ปลาหางนกยูงพันธุ์แปลกๆ และสวยงามอยู่เป็นประจำ
สำหรับ ในประเทศไทย ปลาหางนกยูงก็ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามในตู้กระจกมากเช่น เดียวกัน แต่ในธุรกิจด้านการเพาะพันธุ์ยังไม่เจริญก้าวหน้ามาก ทั้งในด้านปริมาณ และคุณภาพยังไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศและส่งจำหน่าย ต่างประเทศ ทั้งนี้เป็นเพราะว่าคนไทยทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาล ยังให้ความสนใจวิชาความรู้ด้านพันธุกรรมและความละเอียดละออในการคัดเลือกพ่อ แม่พันธุ์ไม่มากนัก และประการสำคัญคือขาดการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยต้องสั่งซื่อปลาหางนกยูงจากต่างประเทศคิดเป็น มูลค่าปีละจำนวนนับล้านบาท
ปลา หางนกยูงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Poecilia reticulata Peters 1859 มีชื่อสามัญว่า Guppy อยู่ในครอบครัว Poecidae เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอล่า หมู่เกาะคารีเบียนของประเทศบาร์บาโดส และในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำ ไหลเรือยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3-5 ซม. ตัวเมียมีขนาด 5-7 ซม. ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม (Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงมาจากพันธุ์พื้นเมือง (Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะเด่นที่ใช้นใการปรับปรุงพันธุ์ให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือลักษณะสีและสวดลายบนลำตัว และลวดลายบนครีบหาง และรูปแบบของหาง ซึ่งในการเรียกสายพันธุ์ต่างๆ จะถูกตั้งชื่อตามลักษณะดังกล่าว

ลักษณะทางชีววิทยาของปลาหางนกยูง
1.
การจำแนกทางชีวิวิทยาของปลาหางนกยูง
ชื่อสามัญ : ปลาหางนกยูง Guppy หรือ Million Fish
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Poedilia reticulata
Class : Ostedchthyes
Order : Cyprinodontiformes
Suborder : Cyprinodontoidei
Family : Poeciliidae
Genus : Poecilia
Species : Reticulata
2.
ลักษณะทั่วไปของปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงที่เลี้ยงกันทั่วๆ ไปมีหลายพันธุ์ แต่ละพันธุ์มีข้อแตกต่างกันอย่างเห็นได้เช่น โดยให้สังเกตส่วนหาง ปลาหางนกยูงบางชนิดมีหาง 3 แฉก บางชนิดหางกลมเป็นรูปพัด บางชนิดมีหางแบบธง หางเข็ม หางพิณ ฯลฯ หางของปลาหางนกยูงจะมีสีสันเด่นสะดุดตา และขนาดลำตัวตัวของปลาหางนกยูงมีขนาดเล็กกว่าปลาสวยงามชนิดอื่นและจัดเป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว

ขอบคุณข้อมูลจาก:http://www.geocities.com/kad_guppy/guppy.html