March 17, 2009

การเลี้ยงอาร์ทีเมีย

การเลี้ยงอาร์ทีเมีย

ทั้งๆ ที่อาร์ทีเมียเป็นสัตว์น้ำเค็มสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในช่วงความเค็มค่อน ข้างกว้างระหว่าง 3-240 ส่วนในพัน (ppt) แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้น สามารถพบอาร์ทีเมียได้เฉพาะในแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นสามารถพบอาร์ทีเมียได้ เฉพาะในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีความเค็มสูงมากจนกระทั่งสัตว์ที่เป็นศัตรูของอาร์ทีเมียเป็นสัตว์น้ำ ที่ไม่มีระบบป้องกันตนเอง เนื่องจากไม่มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัวจึงมีความอ่อนนุ่มตกเป็นเหยื่อให้แก่ สัตว์น้ำชนิดอื่นๆ ได้ง่าย ดังนั้นจึงเป็นข้อจำกัดเป็นอย่างมากของอาร์ทีเมียในแหล่งน้ำธรรมชาติ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พยายามนำเอาอาร์ทีเมียมาทดลองเลี้ยงในพื้นที่ซึ่ง สามารถป้องกันศัตรูของอาร์ทีเมียได้ และควบคุมปัจจัยต่างๆ ให้เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของอาร์ทีเมียโดยการเลี้ยงในปัจจุบันสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
2. การเลี้ยงในภาคสนาม
การเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ
ได้แก่ การทดลองเลี้ยงอาร์ทีเมียในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่ที่นิยมทดลองเลี้ยงกันในตู้กระจก ถึงไฟเบอร์กลาสหรือบ่อซีเมนต์ระบบการเลี้ยงที่นิยมใช้กันแพร่หลายมีหลายระบบ เช่น Flowthrough system หรือ Batch culture system ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่การเลี้ยงในห้องปฏิบัติการมีข้อจำกัดในขนาดของถึงหรืออุปกรณ์ ที่จะใช้เลี้ยง และการลงทุนค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่นิยมปฏิบัติกันในแถบยุโรป
การเลี้ยงภาคสนาม
ได้แก่ การทดลองเลี้ยงอาร์ทีเมียในบ่อดิน หรือแหล่งน้ำต่างๆ ที่มีความเค็มจัดซึ่งสามารถควบคุมความเค็มได้ มีการให้อาหารหรือควบคุมปัจจัยบางอย่าง ข้อดีคือ สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ขนาดใหญ่ สามารถทำเป็นอาชีพเสริมควบคู่ผสมผสานไปกับการทำนาเกลือ / หรือการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ นิยมปฏิบัติการในแถบทวีปอเมริกาใต้ หรือเอเชีย
สำหรับ การเลี้ยงอาร์ทีเมียในประเทศไทยนั้น ไม่มีรายงานว่าพบอาร์ทีเมียในแหล่งน้ำธรรมชาติจนกระทั่ง กรมประมงได้ประสบผลสำเร็จในการเลี้ยงอาร์ทีเมียในบ่อดินบริเวณนาเกลือที่น้ำ เค็มมีความเค็มสูงเป็นครั้งแรกในปี 2522 โดยสามารถผลิตไข่อาร์ทีเมียแห้งได้ 10 กิโลกรัมในบ่อดินขนาด 1.5 ไร่ ภายในระยะเวลา 45 วัน
1.
การเลือกสถานที่

ควรเป็นสถานที่ที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำเค็มที่มีความเค็มสูง เช่น นาเกลือ เป็นพื้นที่ซึ่งสามารถจัดการให้มีได้ทั้งน้ำเค็มและต่ำและสูงตามที่ต้องการได้อย่างเพียงพอ สภาพดินควรเป็นดินเค็มและสามารถเก็บกักน้ำได้ดี มีการคมนาคมสะดวกและใกล้แหล่งอาหารซึ่งเป็นพวกมูลสัตว์ ซากพืช ซากสัตว์ ตลอดจนสิ่งเหลือใช้ต่างๆ เช่น ใกล้ฟาร์มเลี้ยงสัตว์โรงงานผลิตอาหารสัตว์ โรงงานฆ่าสัตว์ โรงงานผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูปต่างๆ บ่อเลี้ยงกุ้งหรือปลาทะเลเป็นต้น
2.
การสร้างบ่อ

ฟาร์มเลี้ยงอาร์ทีเมียนั้นควรวางระบบสำหรับควบคุมความเค็มของน้ำในบ่อไว้ ด้วยการสร้างบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียควรให้ได้ความยาวของบ่อไปตามทิศทางลม คือจะต้องสร้างบ่อให้มุมบ่ออยู่ทิศตะวันออก - ตก ไม่เช่นนั้นจะทำให้การรวบรวมอาร์ทีเมียทำได้ยาก เพื่อให้ตัวอาร์ทีเมียรวมกันที่มุมบ่อสะดวกต่อการรวบรวม และน้ำในบ่อจะหมุนเวียนได้ดี ขนาดของบ่อควรอยู่ระหว่าง 1-5 ไร่ ความลึก 1-1.5 เมตร ลักษณะการขุดหรือสร้างบ่อ ก็เช่นเดียวกันกับบ่อสำหรับเลี้ยงกุ้งปลา โดยทั่วๆ ไปหรือจะขุดให้มีขาวังภายในบ่อ กว้าง 1 เมตร ลึก 90 เซ็นติเมตรด้วยก็ได้
3.
การเตรียมบ่อ แยกออกเป็น

บ่อใหม่ ถ้าดินเป็นกรดควรปรับสภาพของผิวพื้นบ่อก่อนด้วยปูนขาวหรือดินมาร์ลให้เป็นกลาง หรือด่างอ่อนเสียก่อน (pH 7.5-9.0) และในการกำจัดศัตรูพวกกุ้ง, ปู, ปลา นั้นสามารถจะใช้น้ำที่มีความเค็มสูงมาก เช่น น้ำดีเกลือ (ความเค็ม 350 ppt) ใส่ลงเพื่อกำจัดศัตรูของอาร์ทีเมียได้

ควร จะมีการปรับปรุงบ่อปีละประมาณ 1-4 ครั้ง โดยจะสูบทั้งน้ำและอาร์ทีเมียในบ่ออื่นๆ แล้วขุดลอกเลนปรับปรุงบ่อตากไว้ประมาณ 1-4 สัปดาห์ และในการกำจัดศัตรูพวก กุ้ง,ปู,ปลา นั้นสามารถจะใช้น้ำดีเกลือเพื่อกำจัดศัตรูของอาร์ทีเมียได้เช่นกัน
น้ำ ที่ใช้เลี้ยงอาร์ทีเมียในบ่อดินนั้น ความเค็มจะผันแปรอยู่ระหว่าง 70-170 ppt (ความเค็มสูงกว่าน้ำทะเลประมาณ 2.5-6 เท่า) pH ระหว่าง 7.5-6 (เฉลี่ย 8-8.5) โดยจะสูบน้ำดีเกลือจากนาเกลือในต้นฤดูฝน หรือน้ำเค็มจากบ่ออื่นๆ ที่ตากไว้ หรือน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลาทะเล หรือน้ำเค็มจากบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียผสมให้มีความเค็มสูงตามที่ต้องการ ความลึกของน้ำอยู่ระหว่าง 30-100 เซนติเมตร (ขึ้นอยู่กับฤดูกาล) ก่อนปล่อยอาร์มีเมียลงเลี้ยงประมาณ 3-5 วัน ควรมีการเตรียมอาหารให้แก่อาร์ทีเมียที่เริ่มปล่อย (ยกเว้นบ่อที่มีอินทรีย์สารหรือปุ๋ยเป็นจำนวนมากอยู่ในบ่อแล้ว) โดยในระหว่างการเตรียมน้ำควรมีการใส่สารทั้งอินทรีย์สาร และอนินทรีย์สารเพื่อเป็นอาหารเบื้องต้นทำให้เกิดห่วงโซ่อาหารขึ้นภายในบ่อ เช่น การใส่มูลสัตว์ประมาณ 200 กิโลกรัม หรือใช้กากผงชูรส ประมาณ 150 ลิตร หรือปุ๋ยยูเรียประมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ให้น้ำในบ่อมีสีเขียวหรือสีชาของแพลงก์ตอนต่างๆ จึงปล่อยอาร์ทีเมียได้อีกทั้งควรเตรียมคอกไว้สำหรับใส่ขยะซึ่งเป็นพวกซากพืช หรือซากสัตว์ต่างๆ ด้วย
อัตราการปล่อยอาร์ทีเมีย
การปล่อยอาร์ทีเมียลงในล่อนั้นมี 2 วิธี
1.
ปล่อยอาร์ทีเมียวัยอ่อนที่ได้จาการเพาะฟักไข่อาร์ทีเมียประมาณ 150-200 กรัมต่อไร่
2.
ปล่อยอาร์ทีเมียขนาดโตเต็มวัยประมาณ 5-6 กิโลกรัมต่อไร่
(ถ้าต้องการให้ได้ผลผลิตมากขึ้น เราสามารถเพิ่มจำนวนอาร์ทีเมียที่ปล่อยได้ตามต้องการ)
โดยการลำเลียงอาร์ทีเมียในน้ำ ซึ่งปรับความเค็มให้เท่ากับความเค็มของน้ำในบ่อเลี้ยง แล้วบรรจุในถุงพลาสติกอัดออกซิเจนปล่อยลงในบ่อ โดยค่อยๆ ปรับอุณหภูมิของน้ำในถุงให้ใกล้เคียงกับน้ำในบ่อ

การเปลี่ยนน้ำ
ตลอด ระยะเวลาที่เลี้ยงอาร์ทีเมียจะไม่มีการเปลี่ยนน้ำ มีแต่การเติมน้ำความเค็มต่ำลงไปในบ่อประมาณสัปดาห์ละ 2-3 ครั้งๆ ละประมาณ 3-5 เซนติเมตร จะเติมน้ำเข้าไปมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับความเค็มภายในบ่อปกติความเค็ม ระหว่าง 70-120 ppt ซึ่งเป็นการควบคุมความเค็มเพื่อให้อาร์ทีเมียออกลูกเป็นตัวเพียงอย่างเดียว แต่ถ้าต้องการไข่อาร์ทีเมียจะต้องเพิ่มความเค็มให้สูงกว่า 120 ppt ขึ้นไป ในช่วงฝนตก ถ้าฝนตกมากให้ระบายน้ำจืดที่ผิวน้ำออกเพื่อควบคุมระดับความเค็มและความลึก ของน้ำให้ได้อยู่ในระดับที่ต้องการ เมื่อน้ำในบ่อมากเกินไปก็สามารถนำไปใช้ในการขยายบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียอื่นๆ หรือนำไปตกผลึกเกลือ หรือนำไปใช้การเพาะเลี้ยงกุ้ง ปลา ต่อไป
การให้อาหาร
สำหรับชนิดและการกินอาหารของอาร์ทีเมียสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1.
ให้โดยใส่ลงในบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียโดยตรง แต่ต้องทยอยใส่โดยหว่านที่ละน้อย ซึ่งอาร์ทีเมียจะกินได้โดยตรงเพียงส่วนหนึ่งที่เหลือจะเน่าสลายเป็นปุ๋ยก่อน ให้เกิดแพลงก์ตอน (plankton) ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นอาหารประเภทมีชีวิต สำหรับปริมาณที่ให้จะแตกต่างกันออกไปตามชนิดของอาหารเช่น มูลไก่จะใช้ประมาณ 200 กิโลกรัม/ไร่/เดือน ร่วมกับกากผงชูรสประมาณ 30-90 ลิตร/ไร่/เดือน แต่ในปัจจุบัน สามารถใช้พวกขยะซากพืชซากสัตว์ที่เป็นชิ้นส่วนใส่ลงในคอกบ่อ เพื่อให้เกิดการย่อยสลายหรือเน่าสลายเป็นอาหารของอาร์ทีเมียได้เช่นกัน หรือจะใช้น้ำทิ้งจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำอื่นๆ ที่มีสารอินทรีย์และแพลงก์ตอนเป็นจำนวนมาก โดยสูบเติมลงไปในบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมีย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทั้งเพื่อรักษาระดับความเค็มของน้ำในบ่อ และยังเป็นการให้อาหารไปด้วยพร้อมกัน แต่จะต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำที่เติมให้เหมาะสม
2.
นำอาหารชนิดต่างๆ ที่สามารถรวบรวมได้ไปหมักเพื่อให้เกิดแพลงก์ตอน (plankton) ที่เป็นอาหารของอาร์ทีเมียเสียก่อนแล้วจึงนำไปให้เป็นอาหารของอาร์ทีเมียต่อไป ซึ่งในระบบนี้จะสามารถควบคุมคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียได้เป็นอย่างดี

การให้อาหารทั้ง 2 วิธีนั้นจะให้มากน้อยและบ่อยแค่ไหน โดยวิธีการใดนั้นขึ้นอยู่กับฤดูกาล ปริมาณแพลงก์ตอนสีของน้ำและความโปร่งแสง (turbidity) ของน้ำในบ่อเลี้ยงซึ่งควรอยู่ระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แต่หากน้ำในอาหารมากเกินไปจะทำให้ตัวอาร์ทีเมียเหม็น น้ำร้อนขึ้น หรือเกิดขี้แดด การแก้ไขโดยการใช้ไม้คราดอาหาร และขี้แดดที่ตกลงไปยังพื้นบ่อให้แตกฟุ้งกระจายกลับมาแขวนลอยอยู่ในน้ำ เพื่อให้สามารถนมาใช้ประโยชน์ได้อีกครั้งหนึ่ง โดยควรดำเนินการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง
การเจริญเติบโต
หลัง จาการปล่อยอาร์ทีเมียลงเลี้ยงประมาณ 10-15 วัน จะพบอาร์ทีเมียขนาดโตเต็มวัยในบ่อเป็นจำนวนมากอยู่โดยทั่วไป และจะเริ่มพบตัวอ่อนรุ่นใหม่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ดีด้วย สามารถเก็บผลผลิตได้ตลอดไปจนกว่าจะมีการปรับปรุงบ่อใหม่ ถ้าระบบและการจัดการดีจะสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดไปในการปล่อยอาร์ทีเมียลง เลี้ยงเพียงครั้งเดียว แต่ผู้เลี้ยงต้องเลือกเอาว่าจะเก็บผลผลิตเป็นตัวหรือเป็นไข่อาร์ทีเมียหรือ จะเก็บทั้งไข่และตัว กล่าวคือถ้าจะช้อนเก็บเอาตัวออกเกือบทุกวัน อาร์ทีเมียขนาดโตเต็มวัยจะมีปริมาณน้อย ซึ่งอาร์ทีเมียจะออกลูกเป็นตัวเสียส่วนใหญ่ แต่ถ้าจะเก็บไข่ต้องไม่ช้อนตัวขนาดโตเต็มวัยซึ่งเป็นพ่อแม่นั้นออกแล้วใช้ เทคนิคต่างๆ ในการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้เพศเมียออกลูกเป็นไข่มากกว่าออกเป็นตัว ถ้าต้องการผลผลิตทั้งไข่และตัวก็ควรดำเนินการผลิตไข่ก่อน จนกระทั่งอาร์ทีเมียมีอายุมากซึ่งจะให้ประมาณไข่ลดลง หรือส่วนใหญ่ไม่มีไข่แล้วจึงช้อนเก็บรวบรวมตัวอาร์ทีเมียขนาดโตออก เพื่อให้อาร์ทีเมียรุ่นใหม่เจริญเติบโตขึ้นมาทดแทน
การรวบรวมตัวอาร์ทีเมีย
การรวบรวมตัวอาร์ทีเมียก่อนจะรวบรวมจะต้องทำการสำรวจดูปริมาณลูกอาร์ทีเมียทุกบ่อเสียก่อน ซึ่งสังเกตได้ตั้งแต่เช้ามืด เพราะอาร์ทีเมียจะลอยอยู่ผิวน้ำรับอากาศบริเวณมุมบ่อ หากบ่อไหนมีปริมาณตัวบาง ก็ให้ช้อนอาร์ทีเมียบ่ออื่นที่หนาแน่นมาใส่ เพื่อจะได้ขยายพันธุ์ต่อไป และเป็นการลดการแยกอากาศกันของอาร์ทีเมียเองด้วย การเก็บรวบรวมอาร์ทีเมียทำกันตั้งแต่เช้าจนถึง 8 นาฬิกา โดยการสังเกตุว่าอาร์ทีเมียรวมอยู่มุมใดมุมหนึ่งของบ่อ ก็ใช้สวิงช้อนลูกอาร์ทีเมียโดยให้เหลือตัวเต็มวัยเอาไว้เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
ผลผลิต
- ผลผลิตตัวอาร์ทีเมีย (Artemia biomass) ประมาณ 50-100 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
- ผลผลิตไข่อาร์ทีเมีย (Artemia cysts) น้ำหนักเปียกประมาณ 5-10 กิโลกรัม/ไร่/เดือน
ข้อควรคำนึง
1.
ศัตรูอาร์ทีเมีย ซึ่งได้แก่สัตว์น้ำต่างๆ นก แมลงน้ำบางชนิด โคดีพอด (copepod) บางชนิด โรติเฟอร์ (rotifer) โปรโตซัว (protozoa) บางชนิดเป็นต้น สามารถควบคุมได้โดยการรักษาน้ำระดับความลึก และความเค็มของน้ำในบ่อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือ 70-170 ส่วนในพัน (ppt) พร้อมทั้งกรอกน้ำทุกครั้งเมื่อสูบน้ำเข้าบ่อ
2.
ความเค็มของน้ำลดลงในฤดูฝน ป้องกันได้โดยปรับระดับความเค็มของน้ำในบ่อให้สูงขึ้นถึง 170 ppt และรักษาระดับความลึกของน้ำในบ่อให้ได้ไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร ก่อนเข้าฤดูฝนรวมทั้งจัดทำระบบระบายน้ำจืดที่ผิวน้ำออกเมื่อฝนตกหนัก
3.
การตายหมดบ่อในหน้าร้อน เกิดจากการมีการแบ่งชั้นของน้ำมาก โดยน้ำที่อยู่ข้างล่างจะมีความเค็มสูง ซึ่งทำให้อุณภูมิสูงตามไปด้วย ประกอบกับขาดออกซิเจน สามารถแก้ไขได้โดยทำให้เกิดการหมุนเวียนของน้ำภายในบ่อ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแบ่งชั้นของน้ำหลังการเติมน้ำ หรือหลังจากฝนตก หรืออาจจะใช้ปุ๋ยยูเรียประมาณ 10-20 กิโลกรัม/ไร่ ละลายน้ำสาดลงไปในบ่อก้ได้เพราะปุ๋ยยูเรียเมื่อละลายน้ำจะทำให้อุณหภูมิของ น้ำลดลง
4.
การเกิดตะไคร้น้ำหรือขี้แดด เนื่องจากพื้นบ่อมีความอุดมสมบูรณ์มากประกอบกับแสงแดด สามารถส่งไปยังพื้นก้นบ่อได้ดี แก้ไขได้โดยการใช้โซ่ลากบริเวณพื้นบ่อ เพื่อให้ตระใคร้น้ำหลุดลอยาขึ้นมาแล้วใช้กระชอนขึ้นนำไปตาก หรือหมักแล้วนำกลับมาใช้เป็นอาหารอาร์ทีเมียได้อีก หรือเติมน้ำเค็มให้มีความเค็มสูงกว่า 130 ppt เพื่อทำลายพวกขี้แดดประมาณ 1 สัปดาห์ ขี้แดดจะลอยขึ้นและสลายตัวไปเองที่เหลือให้ช้อนออกจากบ่อ แต่ถ้ามีปริมาณมากเกินไป ควรสูบน้ำไปเก็บไว้ในบ่อเพื่อเริ่มเลี้ยงใหม่ในครั้งต่อไป นอกจากนี้หากน้ำในบ่อมีความเค็มต่ำและน้ำค่อนข้างใส จะทำให้เกิดขี้แดดได้ทันทีหากปล่อยไว้ก็จะมีผลทำให้พวกซูโอแทมเนียม มีลักษณะ เป็นเส้นขาวๆ มาเกาะตัวอาร์ทีเมีย แต่จะเกิดได้น้อยครั้งหากพบเช่นนี้ก็ต้องตากบ่อใหม่ทันที
5.
การเกิดปัญหาพื้นบ่อเน่า เนื่องจากมีอาหารเหลือมากเกินไปตกลงไปยังพื้นก้นบ่อ แก้ไขได้โดยการลากโซ่ หรือใช้ไม้คราดกรวนกระทุ้งบริเวณพื้นก้นบ่อ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาพื้นก้นบ่อเน่าเสียแล้ว ยังเป็นการทำให้อาหารที่ตกลงไปข้างล่างได้ฟุ้งกระจายขึ้นมากอีกทำให้อาร์ที เมียสามารถกินได้อีก

รูปแบบของการทำฟาร์มอาร์ทีเมีย
เป็น การทำการเพาะเลี้ยอาร์ทีเมียอย่างเดียว ซึ่งบ่อเพาะเลี้ยงอาจเป็นนาเกลือเก่า หรือดัดแปลงนาเกลือเก่า หรือปรับปรุงนาเกลือให้เหมาะสมกับการเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียได้ ซึ่งมีวิธีการโดยการดันน้ำทะเลเข้ามา บ่อตากน้ำทะเลให้ได้ความเค็มอยู่ระหว่าง 70-170 ppt แล้วส่งน้ำเค็มเข้าสู่บ่อเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียต่อไป ซึ่งครั้งแรกจะต้องสร้างห่วงโซ่อาหารให้เกิดขึ้นภายในบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมีย โดยการใช้ปุ๋ยมูลสัตว์ประมาณ 200 กิโลกรัมต่อไร่ เมื่อเกิดน้ำเขียวแล้วก็ปล่อยอาร์ทีเมียลงเลี้ยงหลังจากนั้นก็ควบคุมน้ำให้ ได้ระดับที่ต้องการ โดยการสูบน้ำเข้าไปแทนที่น้ำทะเลที่ระเหยออกไป และต้องรักษาระดับความเค็มของน้ำให้เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยลงในบ่อเพาะเลี้ยงสัปดาห์ละครั้งเพื่อให้เกิดอาหาร
การทำฟาร์มอาร์ทีเมียแบบผสมผสาน
เป็น การผสมผสานระหว่างการเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง หรือนาเกลือ ทั้งนี้เพราะว่าน้ำที่เลี้ยงกุ้งปลาจะมีความเค็ม 10-40 ppt จะนำน้ำนี้ไปเลี้ยงอาร์ทีเมียซึ่งน้ำที่เลี้ยงกุ้ง ปลา นี้จะมีแพลงก์ตอนซึ่งเป็นอาหารของอาร์ทีเมียอยู่ด้วย และในน้ำที่เลี้ยงอาร์ทีเมียแล้วจะใสมาก เพราะอาร์ทีเมียกินแบคทีเรีย และสาหร่ายชนิดต่างๆ จึงสามารถนำไปตกผลึกเกลือได้เลย โดยแทนที่จะค่อยๆ ตากน้ำนานก็ลดเวลาในการตากน้ำลง น้ำในแปลงอาร์ทีเมียมีความเค็มอยู่ระบายออกไปตากเพียง 2-3 วัน สามารถตกผลึกได้ ดังนั้นถ้าใช้น้ำที่มีความเค็มสูง จากบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียไปตากเพียงไม่กี่วันก็ได้ผลิตเกลือแล้ว ระยะเวลาในการทำนาเกลือก็มีมากขึ้น ผลผลิตเกลือก็ได้มากขึ้น และขาวขึ้นและน้ำที่เลี้ยงอาร์ทีเมียก็ยังสามารถนำไปใช้ในโรงเพาะฟักต่าง ๆ ได้ต่อไป
การทำฟาร์มอาร์ทีเมียแบบผสมผสานกับการเลี้ยง กุ้ง ปลา และการทำนาเกลือ
เป็น การเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง ปลา และนาเกลือ ซึ่งบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลา และนาเกลือจะแยกกันโดยเด็ดขาด แต่อยู่บริเวณเดียวกันโดยนาเกลือจะแยกเป็น 2 ส่วนคือ บ่อตากและบ่อตกผลึก ทำโดยการสูบน้ำทะเลเข้ามาตากให้ได้ความเค็มที่ต้องการหลังวจากนั้นก็สูบน้ำ เข้าบ่อเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมีย แต่ก่อนจะเลี้ยงอาร์ทีเมียก็ควรกำจัดศัตรู ปรับปรุงบ่อเสียก่อน และควรตากบ่อประมาณ 1 สัปดาห์ จึงจะทำการสูบน้ำเขียวจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลา แล้วสูบน้ำเค็มประมาณ 90-110 ppt ในระหว่างเลี้ยงก็ควบคุมระดับน้ำ และระดับความเค็มของน้ำให้ได้ตามที่ต้องการ หากความเค็มลดลงหรือระดับน้ำลดลงก็สูบน้ำจากบ่อตากนากเกลือเข้ามาพร้อมทั้ง สูบน้ำเขียวจากบ่อเลี้ยงกุ้ง ปลา เพื่อเป็นอาหารของอาร์ทีเมีย และใส่มูลสัตว์ในบ่ออาร์ทีเมียด้วย น้ำที่ใช้เลี้ยงอาร์ทีเมียก็จะสูบกลับไปยังบ่อตากน้ำ
การทำฟาร์มอาร์ทีเมียผสมผสานกับการทำนาเกลือ
เป็น การใช้น้ำจากบ่อตากน้ำเกลือไปใช้ประโยชน์ ก่อนน้ำไปตกผลึกเกลือโดยการสูบน้ำเข้าบ่อตากเกลือ เพื่อตากน้ำทะเลให้ได้ความเค็มที่ต้องการ แล้วสูบน้ำเข้าบ่อเลี้ยงอาร์ทีเมียปรับความเค็มให้ได้ตามที่ต้องการ พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยมูลสัตว์สร้างห่วงโซ่อาหารในบ่อ เมื่อเกิดน้ำเขียวแล้วปล่อยอาร์ทีเมียลงเลี้ยงในบ่อจากนั้นก็รักษาระดับน้ำ และความเค็มพร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเพื่อเป็นอาหารของอาร์ทีเมียสัปดาห์ละครั้ง ส่วนน้ำจากบ่อเพาะเลี้ยงอาร์ทีเมียจะหมุนเวียนนำกลับไปใช้ในการตกผลึกเกลือ ได้อีก

http://www.geocities.com/kad_guppy/aretimier.html

October 11, 2008

เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง

เทคนิคการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาสวยงาม เพื่อให้ได้ลูกปลาที่มีลักษณะดี ผู้เพาะพันธุ์ปลาควรใช้หลักการดังนี้
1.
ให้ทำการคัดเลือกปลาแม่พันธุ์ โดยเลือกปลาแม่พันธุ์ที่มีลักษณะสวยงาม แข็งแรง และสมบูรณ์ปลาแม่พันธุ์ที่เลือกไว้ทำพันธุ์ให้ทำการคัดเลือกเมื่อปลาหางนก ยูงมีอายุได้ 3-4 เดือน ก่อนที่ปลาเพศเมียจะถูกผสม ถ้าคัดปลาแม่พันธุ์ที่มีอายุมาก ปลาเพศเมียอาจอาจมีเชื้อปลาเพศผู้ที่ไม่ต้องการตกค้างอยู่ในรังไข่ได้ ทำให้ไม่สามารถควรคุมคุณภาพของปลา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องคัดเลือกปลาแม่พันธุ์เมื่ออายุยังน้อย เพื่อให้ได้แม่พันธุ์ที่บริสุทธิ์
2.
หลังจากคัดเลือกปลาแม่พันธุ์แล้ว ให้ทำการเลี้ยงปลาแม่พันธุ์แยกจากปลาเพศผู้ เพื่อป้องกันไม่ให้ปลาผสมกันก่อนอายุเท่าที่ควร
3.
ให้ทำการคัดเลือกปลาพ่อพันธุ์ที่มีลักษณะตามต้องการ พร้อมกับนำไปปล่อยรวมกับปลาเพศเมีย โดยใช้ปลาหางนกยูงเพศผู้ 1 ตัว ต่อปลาเพศเมีย 2-3 ตัว
4.
เมื่อปล่อยปลาพ่อพันธุ์และปลาแม่พันธุ์เลี้ยงร่วมกนแล้ว ให้สังเกตที่ท้องของปลาแม่พันธุ์ ถ้าพบว่าปลาแม่พันธุ์ท้องพองเป่ง และมีจุดดำปรากฏให้เห็น ให้ทำการแยกปลาเพศเมียเลี้ยงในตู้เพาะทันที เพื่อไม่ให้ปลาแม่พันธุ์ถูกรบกวน เมื่อปลาแม่พันธุ์ออกลูกแล้ว ให้แยกปลาแม่พันธุ์ออกทันที เพราะปลาแม่พันธุ์อาจกินลูกของตัวเองก็ได้ หรืออาจจะปลูกไม้น้ำพวกสาหร่ายไว้ในตู้เพาะพันธุ์ก็ได้ เพื่อให้ลูกปลาหางนกยูงหลบซ่อนศัตรูก็ได้ ปลาหางนกยูงจะคลอดลูกครอกหนึ่งๆ ประมาณ 40-50 ตัว
5.
ในระยะแรกของการอนุบาลปลาลูกปลา ควรให้อาหารพวกไรแดง และควบคุมให้อุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยให้ปลากินอาหารเก่ง และโตเร็ว
6.
ควรใส่ยาปฏิชีวนะพวกเตต้าซัยคลิน คลอแรมเฟนิคอล ทุกๆ ครั้งที่ถ่ายเทน้ำ และหลังจากถ่ายเทน้ำแล้ว ควรใส่เกลือลงไปในน้ำทุกครั้ง
7.
เมื่อลูกปลาอายุได้ 3-4 เดือน ควรทำการแยกเพศปลาและทำการเลียงปลาเพศเมียแยกไว้ต่างหาก เพื่อป้องการกันผสมพันธุ์ของปลาจากปลาพ่อพันธุ์ที่ไม่ต้องการ

ปัญหาการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง
ในการเพาะพันธุ์ปลาหางนกยูง นับว่ามีปัญหามาก เพราะลูกปลาที่ได้มีลักษณะความแปรปรวนมาก สาเหตุที่ทำให้ลูกปลาหางนกยูงมีลักษณะ ด้อยกว่าปลาพ่อพันธุ์ปลาแม่พันธุ์ เนื่องมาจาก
1.
ปลาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เป็นปลาที่มาจากครอกเดียวกัน ในการเลี้ยงปลาถ้าไม่ทำการแยกเพศตั้งแต่ปลามีอายุ 3-4 เดือน อาจเกิดปัญหาการผสมในครอกเดียวกันก็ได้ เมื่อการผสมแบสายเลือดชิด จะทำให้ลูกที่ได้มีลักษณะด้อยลงไปเรื่อย ๆ
2.
ปลาเพศเมียผ่านการผสมพันธุ์จากปลาเพศผู้มาแล้ว จึงมีเชื้อของของปลาเพศผู้ตกค้างอยู่ในตัวแม้ว่าจะนำปลาพ่อพันธุ์ที่มีความสวยงามมาผสมพันธุ์ ก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้น เพราะเชื้อเก่ายังคงอยู่ในปลาเพศเมีย ทำให้ไม่ได้ลูกปลาตามที่ต้องการ
3.
ปลาพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์คุณภาพไม่ดี เนื่องจากเทคนิคการเพาะเลี้ยงและการอนุบาลปลาหางนกยูงยังไม่ดีพอ
4.
ปลาที่เพาะพันธุ์เกิดการผสมกันเอง จากการที่ปลาหางนกยูงออกลูกเป็นครอก เมื่อนำมาเลี้ยงร่วมกันอาจผสมพันธุ์กันเองได้ เพราะปลาหางนกยูงโตเร็ว จึงจำเป็นต้องรีบแยกปลาก่อนที่จะเกิดการผสมกันเอง